แสงแห่งความหวังท่ามกลางความมืดมนแห่งสงคราม : แมนพาวเวอร์ร่วมกับนานาชาติ ผนึกกำลังเยียวยาชาวยูเครน
เหตการณ์รุนแรงในยูเครนทีดำเนินมาต่อเนื่องเป็นเวลาหลายเดือน ส่งผลกระทบต่อชีวิตผู้คนจำนวนมาก ชาวยูเครนกว่า3ล้านคนต้องอพยพหนีไฟสงครามในบ้านเกิดไปยังประเทศอื่น ๆ ในยุโรป หลายครอบครัวต้องพลัดพราก เนื่องจากผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นทนาย หรือ โปรแกรมเมอร์ ต่างจำต้องจับอาวุธขึ้นปกป้องมาตุภูมิ ขณะที่จำใจส่งผู้หญิงและเด็ก ๆ ไปยังที่ปลอดภัย
ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่จำต้องอยู่ในยูเครน หรือ ผู้ที่อพยพหนีออกมาได้แล้วก็ดี ทุกคนล้วนมีปากท้องต้องเลี้ยงดู ซึ่ง “งาน” ที่เป็นแหล่งรายได้ เป็นหนึ่งในความช่วยเหลือที่ทั้งรัฐบาลและบริษัทนานาชาติจะหยิบยื่นให้ได้ เพื่อให้ “ความหวัง” ของทุกคนยังคงอยู่ต่อไป
ก่อนเกิดสงคราม ยูเครนเป็นประเทศที่มีบุคลากรด้านไอทีศักยภาพสูงมาก จากสถิติ ยูเครนเป็นประเทศที่มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ดีที่สุดเป็นอันดับ5ของโลก รองจากสโลวาเกีย เม็กซิโก โปแลนด์ และฮังการี โดยมีดัชนีคะแนนวัดประสิทธิภาพสูงถึง93.17%ส่งผลให้มีการจ้างงานIT outsourceจากยูเครนเป็นจำนวนมาก ขณะที่ บริษัทพัฒนาซอฟต์แวร์ในเนเธอร์แลนด์ก็ระบุว่า ยูเครนมีทรัพยากรนักพัฒนาซอฟต์แวร์กว่า200,000คน นอกจากนี้20%ของลิสต์บริษัทFortune 500 companiesยังมีการOutsourceทีมพัฒนาซอฟต์แวร์จากยูเครนอีกด้วย
หลังจากเหตุการณ์โจมตีรุนแรงจากรัสเซีย บริษัทผู้ว้าจ้างในต่างประเทศ ต่างพยายามให้ความช่วยเหลือแก่ลูกจ้างของตนที่ยังคงต้องอยู่ในยูเครน เพราะทุกฝ่ายต่างรู้ดีว่าสถานการณ์เลวร้ายนี้อันตรายต่อชีวิตเพียงใด อย่างไรก็ตาม หลายเสียงจากบริษัทผู้ว่าจ้างกล่าวว่าลูกจ้างชาวยูเครนของตนนั้น ยังคงไม่ทิ้งงาน แม้ว่าพวกเขาต้องช่วยเหลือในการสู้รบด้วยก็ตาม เพราะพวกเขายังมุ่งมั่นที่จะทำงานแบบremote workต่อไปท่ามกลางไอระอุของสงคราม
“นักพัฒนาซอฟต์แวร์คนหนึ่งของเราต้องลี้ภัยออกจากเมืองลวีฟไปยังบ้านพ่อแม่ของเขาที่อยู่ห่างออกไป40กิโลเมตรในชนบท เขาจะกลับเข้าเมืองลวีฟพรุ่งนี้เช้าเพื่อทำงานต่อโดยที่เขาต้องช่วยสู้เพื่อปกป้องเมืองไปด้วย”นายEric Hovagimประธานและผู้ก่อตั้งบริษัทแห่งหนึ่งในลอสแองเจลลิสกล่าว
ด้านนายLogan Bender เจ้าหน้าที่การเงินของบริษัทซอฟต์แวร์ในซานฟรานซิสโกเล่าว่า “แน่นอน เราบอกพวกเขาว่าไม่ต้องสนใจงานที่ต้องทำส่งหรอก เราไม่คาดหวังอย่างอื่นนอกจากจะให้พวกเขาบอกเรามาว่าเราจะช่วยอะไรได้บ้างนอกจากโอนเงินกับช่วยเรื่องกระบวนการวีซ่า” โดยที่นายBenderเอง ก็พยายามติดต่อให้หน่วยคุ้มกันภัยหาทางช่วยเหลือให้ลูกจ้างของเขาได้ออกจากพื้นที่ปะทะโดยเร็วที่สุด
ขณะเดียวกัน ทั้งรัฐบาลและบริษัทนานาชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา ต่างเร่งยื่นมือให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพชาวยูเครนเป็นการเร่งด่วน รัฐบาลของทุกประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปได้มีการลงมติให้สถานะคุ้มครองชั่วคราวแก่ผู้ลี้ภัยชาวยูเครน ซึ่งหมายรวมถึงการอนุญาตให้ผู้ลี้ภัยสามารถใช้ชีวิต เรียนหนังสือ หรือ ทำงานในกลุ่มประเทศดังกล่าวได้ สำหรับบริษัทและองค์กรภาคธุรกิจ ก็ได้ให้ความช่วยเหลือในการสร้างjob boardต่าง ๆ หรือ แพลตฟอร์มสำหรับการจ้างงานและเทรนนิ่ง ที่จะทำให้ผู้อพยพชาวยูเครนได้เข้าถึงการจ้างงานได้
แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ก็เป็นหนึ่งในกระบวนการช่วยเหลือนี้ โดยได้ร่วมกับอีกกว่า50บริษัทชั้นนำระดับโลก ลงนามในTent Partnership for Refugeesที่ปฏิญาณจะให้ความช่วยเหลือทั้งในระยะสั้นและระยะยาวแก่ผู้อพยพชาวยูเครน
“ชาวยูเครนเป็นส่วนหนึ่งของแรงงานสำคัญในแถบยุโรปตะวันออกมาช้านาน พวกเขาเป็นแรงงานที่มีศักยภาพและมีทักษะ”คุณโจนาส ไพรซ์ซิ่งCEOและประธานบริษัทแมนพาวเวอร์กรุ๊ปกล่าว โดยแมนพาวเวอร์กรุ๊ปนั้น นอกจากจะประกาศจุดยืน
เคียงข้างชาวยูเครนแล้ว ยังทำแคมเปญช่วยเหลือผู้อพยพชาวยูเครนร่วมกับองค์กรข้าหลวงใหญ่เพื่อผู้ลี้ภัยนานาชาติหรือUNCHRและมีการสร้างเว็บงานภาษายูเครนเพื่อช่วยเหลือในการจ้างงานชาวยูเครนในหลายประเทศอีกด้วย
แมนพาวเวอร์กรุ๊ปพบว่า ผู้ว่าจ้างต่าง ๆ ยินดีจะจ้างคนที่ไม่ต้องมีทักษะเฉพาะเจาะจงแต่สามารถถูกฝึกฝนให้เป็นงานได้ ซึ่งจุดนี้ สามารถช่วยเหลือผู้อพยพชาวยูเครนที่ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงหรือเด็กได้ดีเยี่ยม แม้ว่าหลายคนอาจไม่ได้มองหางานประจำระยะยาว เนื่องจากยังมีความหวังว่า เหตุการณ์ความรุนแรงจะสงบลงในเร็ววัน แต่ไม่ว่าอย่างไร แมนพาวเวอร์กรุ๊ปก็จะยังพยายามให้ความช่วยเหลือในทุก ๆ ทาง
“บริษัทต่าง ๆ เพิ่มความยืดหยุ่นมากขึ้นในการยอมรับแรงงานที่ไม่ต้องมีทักษะหรือมีทักษะที่ไม่สมบูรณ์ โดยนับเป็นการช่วยเหลือผู้อพยพหญิงชาวยูเครนได้เป็นอย่างดี”คุณโจนาสกล่าว
แม้ว่าปัจจุบัน ยังคงไม่มีใครสามารถบอกได้ว่า วิบากกรรมของยูเครนครั้งนี้จะจบลงเมื่อใด แต่ท่ามกลางความมืดมน แมนพาวเวอร์กรุ๊ปหวังว่า เราจะยังเป็น “แสงแห่งความหวัง” ให้แก่ผู้ประสบภัยสงครามชาวยูเครน ส่องนำให้ทุกคนมีโอกาสในการยังชีพ มีโอกาสในการใช้ชีวิต มีโอกาสในการเลี้ยงดูครอบครัว และผ่านพ้นวิกฤตการณ์ครั้งนี้ไปได้อย่างราบรื่นโดยเร็ว
Cr. CNN , The New York Times , DAXX , CNBC