ท่ามกลางการกลับมาแพร่ระบาดของโควิด-19 ในหลายประเทศทั่วโลก แม้จำนวนผู้ติดเชื้อในประเทศของไทยได้ลดน้อยลงบ้างแล้ว แต่สภาวะเศรษฐกิจก็ยังไม่กลับมาเป็นปกติ ซึ่งส่งผลกระทบที่เห็นได้ชัดในปัจจุบัน คือ หลาย ๆ ธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่จำเป็นต้องปิดกิจการหรือปรับจำนวนพนักงานลงอย่างเลี่ยงไม่ได้
จริงอยู่ที่ว่า หากเลือกได้ องค์กรก็คงไม่ได้อยากจะสร้างความเดือดร้อนให้กับบรรดาลูกจ้างตัวน้อย ๆ ที่ต้องรับแรงกระแทกโดยตรงจากการว่างงานโดยไม่ทันได้ตั้งตัว สิ่งที่พอจะเยียวยาได้ตามกฏหมาย นั่นก็คือ "เงินชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง"
แต่ !!! เชื่อว่าลูกจ้างหลายคน อาจจะยังไม่ทราบว่า หากตนเองถูกเลิกจ้างกะทันหัน ต้องได้รับค่าชดเชยตามกฏหมายเท่าไหร่? และลักษณะการถูกเลิกจ้างแบบไหนถึงสามารถเรียกร้องสิทธิตามกฎหมายได้?
วันนี้แมนพาวเวอร์ได้สรุปออกมาอย่างเข้าใจง่ายๆ พร้อม Infographic มาฝากกันค่ะ
เงินค่าชดเชยที่นายจ้างจะต้องชดเชยให้เมื่อมีการเลิกจ้างพนักงาน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ
1. สิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับเมื่อถูกเลิกจ้างโดยไม่ได้กระทำความผิดใดๆ
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วันแต่ไม่ครบ 1 ปี มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปีมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 3 เดือน
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปีมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 6 เดือน
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปีมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 8 เดือน
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 10 เดือน
ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไปมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย 400 วัน
2. กรณีที่ถูกบอกเลิกจ้างกะทันหัน
ในกรณีของการที่เราถูกเลิกจ้างโดยไม่บอกให้รู้ก่อนล่วงหน้าหรือบอกล่วงหน้าน้อยกว่า 60 วัน นายจ้างนั้นจะต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่ม 1 เดือน
กรณีที่ลูกจ้างจะไม่ได้รับค่าชดเชย
ลาออกโดยสมัครใจ
ทุจริตต่อนายจ้าง หรือความผิดอาญา
จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
ประมาทเลินเล่อจนทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายร้ายแรง
ฝ่าฝืนระเบียบการทำงาน โดยที่นายจ้างได้ออกหนังสือเตือนไปแล้ว
ละทิ้งการทำงานติดต่อกัน 3 วัน โดยไม่มีเหตุอันควร
ได้รับโทษจำคุก หรือ ศาลพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
มีสัญญาจ้างที่กำหนดระยะเวลาจ้างงานที่แน่นอน
แมนพาวเวอร์ขอเป็นกำลังใจให้กับลูกจ้าง รวมถึงนายจ้างทุกท่านให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตนี้ไปได้นะคะ 😊
แหล่งที่มา : TFAC