มากกว่า 2 ปี ที่ผ่านมา -

เมื่อเพื่อนร่วมงานเป็นโรคซึมเศร้า เราควรทำตัวอย่างไร ?

เพื่อนร่วมงาน, โรคซึมเศร้า, วางตัว, เป็นซึมเศร้า, ทำงานไม่ได้, คนเป็นโรคซึมเศร้า, วิธีรับมือ, แก้ไขปัญหา, ไบโพลาร์, โรคไบโพลาร์

​💭 ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สุขภาพจิตเป็นเรื่องสำคัญที่กระทบต่อการทำงาน ปัจจุบันสังคมตื่นตัวเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและอาการทางจิตเวชกันมากขึ้น

โดยโรคซึมเศร้าเป็นอาการที่จะเกิดขึ้นกับใครก็ได้ บางทีคนรอบตัวเราอาจมีอาการซึมเศร้า ซึ่งแม้คำพูดหรือการกระทำที่ไม่ระวังเพียงเล็กน้อย ก็อาจกระทบกระเทือนจิตใจอย่างรุนแรงได้

แล้วถ้าเพื่อนร่วมงานเราเกิดเป็นซึมเศร้าขึ้นมาล่ะ? เราควรจะวางตัวยังไง ไม่ให้ไปกระตุ้นอารมณ์ หรือ สะกิดความรู้สึกที่อ่อนไหวได้? เพราะในกรณีที่เราไม่ระวัง หากอารมณ์ของคนคนนั้นถูกกระทบจนเขาดิ่งสู่หลุมมืดดำในจิตใจ ยากที่จะขึ้นมาได้

วันนี้เราจึงรวบรวม 9 ข้อของ 𝐃𝐨𝐬 𝐚𝐧𝐝 𝐃𝐨𝐧’𝐭𝐬 สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำในกรณีที่เพื่อนร่วมงานเราเป็นโรคซึมเศร้า

Dos

✅ Do รับฟังปัญหาของเขาด้วยความเข้าอกเข้าใจ ไม่ตัดสิน ไม่ชี้นำหรือตำหนิ

✅ Do เป็นฝ่ายริเริ่มถามไถ่ด้วยความห่วงใย เพราะไม่ใช่ว่าคนที่มีอาการซึมเศร้าจะเป็นฝ่ายเดินมาหาเราเองเมื่อเกิดปัญหา

✅ Do มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนทางความรู้สึก ไม่ใช่ว่าเราต้องตามใจเขาไปหมดทุกอย่าง แต่ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจว่าขอบเขตความช่วยเหลือของเราอยู่ตรงไหน

✅ Do ให้เขารับความช่วยเหลือหรือเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยจิตแพทย์

✅ Do ให้กำลังใจในการทำงาน เพื่อให้เขาผ่านพ้นอุปสรรคไปได้

Don'ts

❌ Don't สั่งให้เขา “เลิกคิดซะ” และห้ามไปคิดหรือตัดสินใจแทนเขา คนเป็นซึมเศร้าอาจคิดวนไปวนมา เหมือนอยู่ในหลุมดำแต่ปีนขึ้นมาไม่ได้ เพราะฉะนั้นการบอกให้เขา "เลิกคิด" หากเขาทำไม่ได้ จะยิ่งเป็นแผลในใจ

❌ Don't คิดเองเออเองว่าเขาจะมาขอความช่วยเหลือเองเมื่อเขาต้องการ

❌ Don't คิดว่าเราแก้ไขปัญหาแทนเขาได้ ส่วนใหญ่คนเป็นซึมเศร้า ไม่ได้ต้องการให้คนอื่นมาช่วยแก้ปัญหาแทน แต่ช่วยรับฟังอย่างเป็นกลาง และให้กำลังใจเขาให้เดินต่อไปได้

❌ Don't หยุดคำพูดหรือตัดบทสนทนาของเขา ข้อนี้สำคัญมาก ๆ เพราะการตัดบทสนทนา มักทำให้เพื่อนคนนั้นรู้สึกเหมือนตัวเองไม่เหลือใครเลย พูดกับใครไม่ได้

ในหลายกรณีที่เราอาจจะไม่รู้ว่าใครรอบตัวมีภาวะซึมเศร้า หรือแม้กระทั่งตัวเราเอง หากใครอยากเช็คเบื้องต้น แนะนำ แบบทดสอบภาวะซึมเศร้า PHQ-9 | มหาวิทยาลัยมหิดล

⚠️ เพราะฉะนั้นทางที่ดีควรระมัดระวังทั้งคำพูดและการกระทำในที่ทำงาน รวมถึงคอยสังเกตอาการของคนรอบตัวว่ามีสัญญาณอาการซึมเศร้าหรือไม่ หากสัมผัสได้ ควรแนะนำให้เข้ารับความช่วยเหลือโดยผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์

แมนพาวเวอร์กรุ๊ปใส่ใจกับ “คน” รวมถึงสุขภาพจิตของพนักงานทุกคน เราพร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันที่ทำงานที่เต็มไปด้วยความเข้าอกเข้าใจและซัพพอร์ตซึ่งกันและกัน ♥️

ใครอยากหางานที่มีแวดล้อมที่ดี สบายใจในการทำงาน ปรึกษาแมนพาวเวอร์ได้นะคะ 🥰

สนใจหางานกับแมนพาวเวอร์คลิก