ในยุคปัจจุบันที่ธุรกิจต่าง ๆ ผันตัวเป็นดิจิตัลมากขึ้น ตลาดออนไลน์กลายเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มหลักในการซื้อขายสินค้า ซึ่งแน่นอนว่าในห่วงโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain ที่ครอบคลุมทุกกระบวนการตั้งแต่การผลิตไปจนสินค้าถึงมือผู้บริโภคก็พัฒนาไปเป็น E-commerce หรือการจัดการทุกอย่างผ่านเทคโนโลยี ทุกกระบวนการที่เกี่ยวข้องนี้ ถูกเชื่อมเข้าด้วยกันด้วย e-logistics ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลทั้งหมดออนไลน์ โลจิสติกส์ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงแค่การขนส่งทั้งการขนส่ง การจัดการคลังสินค้า การนำของลงโกดัง รวมถึงการส่งของให้แก่ลูกค้าด้วย
เมื่อทุกอย่างมาอยู่ในรูปแบบดิจิตัล การที่ธุรกิจถูกรองรับด้วย E-logistics มีข้อได้เปรียบทางการตลาดมากขึ้นกว่าระบบ logistics แบบดั้งเดิม นอกจากจะเป็นการประหยัดเวลา ประหยัดกำลังคน และประหยัดทรัพยากรต่าง ๆ แล้ว การประยุกต์ใช้ระบบ E-logistics ยังสามารถรวบรวมข้อมูลทุกอย่างไว้อย่างเป็นระบบ เรียกดูข้อมูลหรือตรวจสอบประวัติการทำงานได้ ทั้งยังช่วยลดข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการได้ด้วย ทำให้ E-logistics เป็นช่องทางที่สามารถทำให้สินค้าส่งถึงมือลูกค้าได้เร็วที่สุด สะดวกที่สุด ลดต้นทุนค่าขนส่ง และเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด
โดยเฉพาะสำหรับบริษัทหรือองค์กรใหญ่ ๆ ที่มีสินค้าต้องดูแลจำนวนมาก อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่ายในกระบวนการเช็กสต็อกสินค้าหรือการนำสินค้าเข้า-ออกโกดัง
แม้ว่าระบบ E-logistics ดูจะเพิ่มความสะดวกสบาย แต่หลายบริษัทอาจต้องทุ่มเวลาและเงินในช่วงแรก ๆ ของการผันมาใช้ระบบออนไลน์ ดังนั้น เรื่องการเทรนหรือฝึกอบรมพนักงานจึงเป็นอีกหนึ่งกุญแจสำคัญที่จะขับเคลื่อนระบบ E-logistics ในบริษัทได้ โดยแมนพาวเวอร์ ซึ่งเป็นบริษัทที่เน้นความสำคัญของ “คน” เป็นอันดับแรก แนะนำให้ทุกธุรกิจให้ความสำคัญต่อการอัปเดตพนักงานด้วยข้อมูลและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อยู่เสมอ
โดยปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ด้าน E-logistics มากมาย แต่ละอันก็มีฟังก์ชั่นที่ต่างกันออกไป เช่น
1. PMS (Parking Management System) หรือ การจัดการการขนส่งทางรถอย่างครอบคลุม ตั้งแต่การรับคำสั่ง การวางแผน การจ่ายงาน การเก็บประวัติรถและพนักงาน ตลอดจนการวางบิล
2. WMS (Warehouse Management System) หรือ ระบบบริหารคลังสินค้า การรับสินค้า การจัดเก็บสินค้าในโกดัง การจ่ายสินค้า
3. Phase Management System หรือ ระบบบริหารการขนส่ง ที่เน้นค่าบริหารการขนส่งในรูปแบบต่าง ๆ
4. CMS (Contianer Yard Management System) หรือ ระบบการจัดการลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์
5. SMS (Ship Management System) หรือ ระบบการจัดการสินค้าในเรือ เพื่อให้การขนย้ายและถ่ายของเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
6. MMS (Maintenance Management System) หรือ ระบบจัดการการซ่อมบำรุง ซึ่งรวมถึงการควบคุมอะไหล่ จำนวนช่าง และประวัติการซ่อมบำรุงของอุปกรณ์ต่าง ๆ
7. LMS (Logistics Management System) หรือ ระบบการบริการการจัดการ Logistics แบบครบวงจร
นอกจากซอฟต์แวร์ที่ยกตัวอย่างมาแล้ว ยังมีซอฟต์แวร์อื่น ๆ ที่มาช่วยดำเนินความสะดวกให้แก่การบริหารจัดการด้าน Logistics ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งหากองค์กรต้องการปรับตัวเพื่อเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการทำธุรกิจ ตลอดจนดต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการจัดการจัดเก็บ เช็กสต็อกสินค้า และการขนส่งสินค้า ควรหันมาใช้ระบบ e-logistics เพราะ e-logistics นั้นเปรียบเสมือนโซ่ล่องหนที่คล้องและเรียงร้อยกระบวนการต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน
เมื่อบริษัทมีการปรับตัว แน่นอนว่าอย่างแรกที่ต้องปรับตัวตามก็คือ พนักงานที่ต้องเปลี่ยนจากการทำ logistics แบบดั้งเดิมมาเป็นระบบออนไลน์ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับบริษัทที่จะรั้งพนักงานมากประสบการณ์ให้อยู่ต่อ ขณะเดียวกันก็เฟ้นหาพนักงานใหม่ ๆ ที่คุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยี ซึ่งทั้งสองกลุ่มควรได้รับการฝึกอบรมอยู่เสมอเพื่อให้ลอดคล้องกับระบบที่เปลี่ยนแปลงไป
แมนพาวเวอร์สนับสนุนให้ทุกบริษัท ผันมาใช้ระบบ E-logistics เพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทเอง และหากบริษัทหรือองค์กรใด ต้องการพนักงานใหม่ให้ติดต่อแมนพาวเวอร์ได้เลยค่ะ