ประมาณ 2 ปี ที่ผ่านมา -

'งานขาย การตลาด' งานมาแรง อันดับ 1 ตลาดแรงงานต้องการ ชี้ปีแห่งการฟื้นฟู

Blank

บริษัท แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้นำระดับโลกด้านการจัดหาบุคลากรและที่ปรึกษาด้านแรงงาน นำเสนอบริการสิ่งต่างๆ ซึ่งช่วยให้ลูกค้าได้รับความสำเร็จในโลกของการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  ปัจจุบันแมนพาวเวอร์กรุ๊ปมีจำนวน 80 ประเทศทั่วโลก

งานขาย การตลาด แชมป์สายงานที่ทั้งแรงงาน และตลาดต้องการสูงสุดปี 2564 แมนพาวเวอร์ ชี้ปีนี้ปีแห่งการฟื้นตัวครั้งสำคัญของภาคอุตสาหกรรม

แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผู้นำที่ปรึกษาด้านแรงงาน เปิดเผยว่า จากผลสำรวจจากกลุ่มลูกค้าของแมนพาวเวอร์กรุ๊ป ประเทศไทย พบว่า สายงานขาย การตลาด เป็นสายงานที่ ทั้งตลาดงาน และตลาดแรงงาน มีความต้องการเป็นอันดับ 1 สะท้อนให้เห็นถึงความสอดคล้องกัน ในสัดส่วนความต้องการของตลาดกับแรงงาน

image.png

10 อันดับ สายงานที่ตลาดงานต้องการ มีดังนี้

อันดับ 1 สายงานขายและการตลาด 23.10 %

อันดับ 2 สายงานบัญชีและการเงิน 9.58 %

อันดับ 3 สายงานขนส่งและงานโลจิสติกส์ 9.50 %

อันดับ 4 สายงานวิศวกร 8.52 %

อันดับ 5 สายงานไอที 7.78 %

อันดับ 6 งานระยะสั้นต่างๆ 6.96 %

อันดับ 7 สายงานธุรการ 6.80 %

อันดับ 8 สายงานบริการลูกค้า 5.32 %

อันดับ 9 สายงานการผลิต 5.24 %

อันดับ 10 สายงานบริการทางการแพทย์และสุขภาพ 3.28 %

10 อันดับ สายงาน ที่ตลาดแรงงานต้องการ ดังนี้

อันดับ 1 สายงานขายและการตลาด 29.70 %

อันดับ 2 สายงานวิศวกร 15.23 %

อันดับ 3 สายงานบริการลูกค้า 13.43 %

อันดับ 4 สายงานธุรการ 7.40 %

อันดับ 5 สายงานทรัพยากรบุคคล 7.37 %

อันดับ 6 สายงานไอที 5.9 %

อันดับ 7 สายงานบัญชีและการเงิน 5.66 %

อันดับ 8 สายงานขนส่งและงานโลจิสติกส์ 5.51 %

อันดับ 9 งานระดับผู้บริหาร 3.51 %

อันดับ 10 สายงานการผลิต 2.28 %

ทั้งนี้ ผลสำรวจยังชี้ให้เห็นว่า สายงานขนส่งและโลจิสติกส์ มีอัตราการเติบโตสูงสุด เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาอยู่ 4.83% ตามทิศทางธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ค้าขายออนไลน์ และธุรกิจเดลิเวอรี่ ขณะที่ งานขายและการตลาดขึ้นอันดับ 1 มา 5 ปีต่อเนื่องกัน สะท้อนให้เห็นว่า ความต้องการเติบโตทางธุรกิจ ให้ความสำคัญกับบุคลากรที่เป็นตัวกลาง ในการนำเสนอสินค้าและบริการ โดยเฉพาะสินค้าความงาม และสินค้าที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ ส่วนการตลาด จะเป็นการเข้ามาวางกลยุทธ์ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ สู่การนำเสนอการสื่อสารเกี่ยวกับตัวผลิตภัณฑ์ หรือบริการโปรโมชั่น และกิจกรรมทางการตลาด เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างถูกต้อง

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เผยถึง กลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สูงสุด 5 อันดับ ประกอบด้วย

1. ธุรกิจท่องเที่ยว รายได้ลดลง 73 %

2. ธุรกิจบันเทิง รายได้ลดลด 59 %

3. ธุรกิจรับจ้าง บริการ รายได้ลดลง 44 %

4. ธุรกิจการผลิต รายได้ลดลง 42 %

5. ธุรกิจอาหาร รายได้ลดลง 41 %

ข้อมูลดังกล่าว สอดคล้องกับแนวโน้มที่ภาคแรงงานต้องเตรียมพร้อม รับการเปลี่ยนแปลงที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตามเชื่อว่า วิกฤติที่เกิดขึ้น ทั้งจากโควิด-19 และเศรษฐกิจ จะปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน และธุรกิจต่าง ๆ จะปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ และพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงได้ อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับสิ่งสำคัญ ของการเปลี่ยนแปลงในตลาดงาน และแรงงานในปีนี้ ต่อไปจนถึงอนาคต การทำงานของแรงงาน จะต้องตอบโจทย์ตลาดงาน มีทักษะที่มีความหลากหลาย พร้อมกับการพัฒนาตนเอง ด้วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง อันจะส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น บนพื้นฐานของความสมดุล ในชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว

ดังนั้น หากทุกคนมีการเตรียมตัว และตั้งรับที่ดี โดยเฉพาะภาคแรงงาน แมนพาวเวอร์กรุ๊ป เชื่อมั่นว่า ประเทศไทย จะเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และพัฒนา เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมไทยต่อไป แม้ในยามวิกฤตที่เกิดขึ้น

"หากภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรมและแรงงานเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง ปรับตัว ยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ เราจะสามารถค้นพบ ทางเลือกสู่ทางรอดแรงงานไทยปี 64 เท่าทันยุคเปลี่ยนผ่านที่รวดเร็วได้ต่อไป นางสาวสุธิดา กล่าว

ด้านนายไซมอน แมททิวส์ ผู้จัดการระดับภูมิภาค ประเทศไทย แถบตะวันออกกลาง และเวียดนาม แมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่า ในปีที่ผ่านมา ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ส่งผลต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจในทุกอุตสาหกรรม เพราะมีความเชื่อมโยงกัน รวมถึงตลาดแรงงาน ที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ ทั้งวิถีการดำเนินชีวิต และการปฏิบัติงาน ซึ่งรวมถึงประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยสนับสนุนของภาครัฐ ในเชิงนโยบาย และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้านการท่องเที่ยว ที่นับว่าได้รับผลกระทบอย่างหนัก รวมถึงด้านการลงทุน และการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนที่เข้ามาช่วยให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจรายย่อย เพื่อขับเคลื่อนกลไกเศรษฐกิจในประเทศ ทางด้านการลงทุนจากต่างประเทศแม้ลดลงแต่ยังได้รับการลงทุนอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังเป็นช่วงการทรานส์ฟอร์มครั้งสำคัญ ของภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะรูปแบบการทำงาน ภายใต้วิถีชีวิตแบบ New Normal ดังนั้น ส่งผลให้ปี 2563 ที่ผ่านมาเป็นปีแห่งการ Recovery สู่การ Renew ในปี 2564 ที่ต้องจับตาการฟื้นตัวสู่การฟื้นฟูครั้งสำคัญ ที่ทุกภาคส่วนต้องบูรณาการร่วมกัน

ผลสืบเนื่องจากการแพร่ระบาดไวรัสตั้งแต่ต้นปี 2563 อีกทั้งการปรับโครงสร้างองค์กรและออกแบบกระบวนการทำงานใหม่ ยังส่งผลให้รูปแบบการจ้างงาน มีความยืดหยุ่น จากการจ้างงานแบบประจำ มาเป็นรูปแบบการจ้างงานระยะสั้น ประเภทต่าง ๆ ทั้งการจ้างงานชั่วคราว การจ้างงานแบบสัญญาจ้าง และการจ้างงานในรูปแบบเอาท์ซอร์ส จะเป็นที่นิยมแพร่หลาย ตอบโจทย์การขาดแคลนกำลังคนได้ตามความต้องการ

พร้อมกันนี้ จะได้เห็นแนวโน้มการใช้เทคโนโลยี ปรับสู่ระบบอัตโนมัติและดิจิทัล โดยการนำเทคโนโลยีมาใช้เป็นบางส่วน จนถึงทั้งกระบวนการทำงาน อาทิ พนักงานขายหน้าร้าน พนักงานบริการลูกค้า งานธุรการ พนักงานขนส่ง พนักงานฝ่ายการผลิต ส่งผลให้เกิดการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ใหม่ ๆ ที่แรงงานต้องเตรียมพร้อม ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล

เราพบการมีพนักงานที่หลากหลายและมีกลุ่มคนทำงานหลายช่วงอายุในองค์กร (Multi-Generational Pool of Workers) ซึ่งปัจจุบัน แต่ละเจนเนอเรชั่นมีสัดส่วนที่เป็นกำลังแรงงานที่มีอายุระหว่าง 15-60 ปีในส่วนของ Gen X กับ Y มีมากสุด และในกลุ่ม Gen Z จะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นตามการเริ่มต้นเข้ามาในตลาด ซึ่งคนแต่ละรุ่นมีวิธีคิดและการทำงานที่แตกต่างกันไปตามประสบการณ์และเป็นสิ่งสำคัญสำหรับพนักงานที่จะต้องเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันและประสบความสำเร็จด้วยกันต่อไป

ที่มา : The Bangkok Insight​