7 วัน ที่ผ่านมา -

เงินเดือนเท่าไรเสียภาษี ? สิทธิลดหย่อนภาษีที่ HR ควรรู้

Shutterstock 1500592778 Fotor 20241210173639

​เพราะการทำงานและผลตอบแทนจากเงินเดือนเป็นสิ่งสำคัญของพนักงาน ฝ่าย HR ที่รับผิดชอบดูแลเรื่องการเงินและสวัสดิการ จึงต้องคอยอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับภาษีให้กับเหล่าพนักงานทุกคน โดยเฉพาะคนที่เพิ่งเริ่มงานหรือยังไม่เข้าใจเรื่องภาษีอย่างถ่องแท้ เพราะอาจมีข้อสงสัยว่า ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี ? หรือต้องมีฐานเงินเดือนเท่าไรที่เข้าข่ายเสียภาษี

การเข้าใจเรื่องภาษีอย่างรอบด้าน และสิทธิ์การลดหย่อนภาษีสำหรับพนักงานปี 2567 สำหรับยื่นต้นปี 2568 จะช่วยให้การวางแผนการเงินของเหล่าพนักงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี ?

การเสียภาษีเป็นหน้าที่พื้นฐานของประชาชนตามกฎหมาย ซึ่งทุกคนที่มีรายได้จะต้องยื่นภาษีตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

ตามกฎหมายของประเทศไทย บุคคลที่มีรายได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาทต่อปี (หรือเฉลี่ยประมาณ 26,583.33 บาทต่อเดือน) ไม่จำเป็นต้องเสียภาษี แต่จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีปีละครั้งภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป

รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ?

แต่หากสงสัยว่า รายได้เท่าไหร่เสียภาษี ? การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะขึ้นอยู่กับระดับของรายได้สุทธิ ซึ่งเป็นรายได้ทั้งหมดที่หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว โดยอัตราภาษีที่ใช้คำนวณมีหลายระดับ ดังนี้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคำนวณภาษี

เงินได้สุทธิ

อัตราภาษี

ไม่เกิน 150,000 บาท

0% (ไม่ต้องเสียภาษี)

150,001 - 300,000 บาท

5%

300,001 - 500,000 บาท

10%

500,001 - 750,000 บาท

15%

750,001 - 1,000,000 บาท

20%

1,000,001 - 2,000,000 บาท

25%

2,000,001 - 5,000,000 บาท

30%

5,000,001 บาท ขึ้นไป

35%

เงินได้สุทธิที่ใช้ในการคำนวณภาษีจะเป็นรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนภาษีที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Q&A เกี่ยวกับการยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

Q : เอกสารประกอบการยื่นแบบมีอะไรบ้าง ?

สำหรับพนักงานที่มีรายได้จากเงินเดือนเพียงอย่างเดียว จะต้องยื่นแบบ ภ.ง.ด. 91 โดยเอกสารประกอบหลักคือ หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย (50 ทวิ) ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่ใช้ในการยื่นภาษี หากมีการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติม เช่น ประกันชีวิต กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือใบอนุโมทนาบัตร ก็สามารถนำมารวมในการยื่นภาษีได้

Q : สามารถยื่นภาษีด้วยวิธีไหนได้บ้าง ?

การยื่นภาษีสามารถทำได้หลายช่องทาง ดังนี้

  • ยื่นภาษีออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์ของกรมสรรพากร http://www.rd.go.th/ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด

  • ยื่นภาษีผ่านแอปพลิเคชัน RD Smart Tax (iOS/Android) ทำให้สามารถยื่นภาษีได้ทุกที่ทุกเวล

สามารถใช้วิธีลดหย่อนภาษี ได้จากอะไรบ้าง ?

การยื่นภาษีปี 2567 ที่ต้องยื่นในช่วงต้นปี 2568 ผู้เสียภาษีสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนได้หลายรูปแบบ ทั้งจากค่าครองชีพ ค่าใช้จ่ายของครอบครัว และการลงทุนต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. ค่าลดหย่อนทั่วไป

  • ค่าลดหย่อนส่วนตัว : ลดหย่อนได้ 60,000 บาท สำหรับตัวเองหรือผู้ที่อาศัยร่วมในครัวเรือน

  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา : ลดหย่อนได้ 30,000 บาทต่อคน สำหรับบิดามารดาที่อายุเกิน 60 ปี และมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส : ลดหย่อนได้ 60,000 บาท หากคู่สมรสจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและไม่มีรายได้ (จำกัด 1 คน)

  • ค่าลดหย่อนสำหรับบุตร : บุตรคนแรกลดหย่อนได้ 30,000 บาท บุตรคนที่สองเป็นต้นไป ที่เกิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 ลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท

  • ค่าลดหย่อนภาษีอุปการะผู้พิการหรือบุคคลทุพพลภาพ : ลดหย่อนได้ 60,000 บาทต่อคน โดยผู้พิการจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี และมีบัตรประจำตัวผู้พิการ รวมถึงจะต้องมีหนังสือรับรองการเป็นผู้อุปการะ

  • ค่าลดหย่อนฝากครรภ์และคลอดบุตร : ลดหย่อนได้สูงสุดครรภ์ละ 60,000 บาท หากทั้งสามีและภรรยายื่นภาษีทั้งคู่ จะให้สิทธิลดหย่อนนี้แก่ภรรยาเท่านั้น

2. ค่าลดหย่อนกลุ่มประกัน เงินออม และการลงทุน

  • เงินประกันสังคม : ลดหย่อนได้สูงสุด 9,000 บาท

  • ประกันชีวิตและประกันสะสมทรัพย์ : ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท* โดยกรมธรรม์ต้องมีระยะเวลาคุ้มครองอย่างน้อย 10 ปี

  • ประกันสุขภาพ : ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท* รวมถึงค่าประกันสุขภาพที่จ่ายให้พ่อแม่ ลดหย่อนได้สูงสุดคนละ 15,000 บาท

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) : ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท

  • กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) : ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

  • กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) : ลดหย่อนได้สูงสุด 30,000 บาท

  • กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ : ลดหย่อนได้ 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท

*ประกันชีวิต ประกันสะสมทรัพย์ และสุขภาพ ต้องรวมกันไม่เกิน 100,000 บาท

3. ค่าลดหย่อนอื่น ๆ

  • การบริจาค : ลดหย่อนได้สูงสุด 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน สำหรับการบริจาคให้กับองค์กรสาธารณกุศลที่ได้รับการรับรอง

  • เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม : ลดหย่อนได้ 2 เท่าของเงินบริจาคจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน

  • Easy e-Receipt 2567 : ลดหย่อนได้สูงสุด 50,000 บาท สำหรับการซื้อสินค้าหรือบริการที่มีใบกำกับภาษีและใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์

  • ค่าลดหย่อนเที่ยวเมืองรอง 2567 : ลดหย่อนได้สูงสุด 15,000 บาท สำหรับการท่องเที่ยวในจังหวัดรอง 55 จังหวัด

  • ค่าสร้างบ้านใหม่ 2567-2568 : ลดหย่อนได้ 10,000 บาท ต่อทุก 1 ล้านบาทของค่าก่อสร้าง (รวม VAT) สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท

บริการรับทำเงินเดือน ตอบปัญหาใครบ้างที่ต้องเสียภาษี

บริการ Payroll Service : ตัวช่วยของเหล่าพนักงาน ง่ายต่อการยื่นภาษี

การใช้บริการ Payroll Service หรือบริการรับทำเงินเดือน เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจที่ต้องการลดภาระงานด้านการเงินและบุคลากร ซึ่งการใช้บริการนี้ จะสามารถช่วยให้ธุรกิจไปโฟกัสกับงานหลักได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งการจ้างผู้เชี่ยวชาญในการคำนวณและจัดการเรื่องเงินเดือน ยังจะช่วยให้เหล่าพนักงานเห็นภาพรวมของรายได้ และง่ายต่อการนำไปยื่นเรื่องภาษีได้อย่างถูกต้อง จึงเพิ่มความสะดวกสบายและลดความผิดพลาดในการคำนวณภาษีให้กับพนักงาน

นอกจากนี้ การใช้บริการ Payroll Outsourcing ยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานฝ่ายการเงินภายในองค์กร ซึ่งจะทำให้ธุรกิจสามารถประหยัดเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ อีกด้วย

การเข้าใจเรื่องที่ต้องรู้ ระหว่างเรื่องเงินเดือนกับภาษีจึงเป็นของคู่กัน ทั้งยังเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เหล่าพนักงานสามารถวางแผนการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากคุณต้องการความช่วยเหลือในการคำนวณเงินเดือน หรืออยากช่วยอำนวยความสะดวกด้านการจ่ายภาษีให้แก่พนักงาน สามารถใช้บริการ Payroll Service หรือรับทำ Payroll Service จาก Manpower หมดกังวลเรื่องข้อมูลด้านผลตอบแทนรั่วไหล เราพร้อมบริการจากประสบการณ์และความเชี่ยวชาญกว่า 70 ปี สนใจรับคำปรึกษาหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อเราได้เลยวันนี้

ข้อมูลอ้างอิง

  1. เงินเดือนเท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี 2567 ? พร้อมวิธีคำนวณภาษี. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 จาก https://www.moneybuffalo.in.th/tax/income-tax

  2. สรุปวิธีคำนวณภาษี ปี 2567: จับมือสอนตั้งแต่เริ่มต้น ครบจบทุกขั้นตอน. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2567 จาก https://www.finnomena.com/z-admin/tax-computation