เมื่อโลกเปลี่ยน ธุรกิจปรับตัวไปจากเดิมส่งผลให้ “เทรนด์การทำงานใหม่ ๆ ปี 2566” มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสโลก และพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้คน รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การพัฒนาทางเทคโนโลยี ทุกภาคธุรกิจต้องปรับตัวให้เท่าทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป รวมถึงการรักษา และพัฒนาบุคลากร การผลิตกำลังคนรองรับสายงานใหม่ ๆ และการจ้างงาน
Financeonline เว็บไซต์ชื่อดังที่รวบรวมวิจัยเกี่ยวกับธุรกิจได้เผย "12 เทรนด์การทำงานที่น่าจับตามองในปี 2023" ซึ่งวันนี้แมนพาวเวอร์ได้นำมาสรุปให้ทุกคนอ่านกันค่ะ
1. Gen Z (ค.ศ. 1997-2010) เริ่มเข้าสู่ระบบการทำงานมากขึ้น
ถือเป็นกลุ่มแรงงานยุคใหม่ล่าสุดในปัจจุบันซึ่งคนกลุ่มนี้ค่อนข้างแตกต่างจาก Generation ก่อน ๆ โดยกลุ่ม Gen Z เกิดและเติบโตในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมีอินเทอร์เน็ตเป็นศูนย์กลาง นั่นหมายความว่าองค์กรก็จะต้องปรับตัวและทำความเข้าใจกับความต้องการของกลุ่มคน Gen Z ให้มากขึ้น และต้องยอมรับว่าวิธีการทำงานกับกลุ่มคน Millennials, Gen X และ Baby Boomer จะไม่ได้ผลกับ Gen Z อีกต่อไป
2. Hybrid working ไม่ได้ลดลง มีแต่จะเพิ่มมากขึ้น
เมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดเริ่มคลี่คลาย และควบคุมได้ หลาย ๆ บริษัททยอยเรียกพนักงานกลับเข้าออฟฟิศ
แต่หากสำรวจเทรนด์ของโลกทั้งใบจะพบว่า หลายบริษัทพยายามหาจุดลงตัวระหว่างการทำงานที่ออฟฟิศ และการทำงานที่บ้าน เน้นความยืดหยุ่นในการทำงาน (Flexible working แบบ Hybrid) แต่ยังคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ ด้วยความเชื่อว่า การพบกันแบบครึ่งทางของวิถีโลกเก่าและโลกใหม่จะช่วยขับเคลื่อนองค์กรได้ดีที่สุด
3. พนักงานให้ความสำคัญกับ Flexible working
บริษัทแห่งหนึ่งในนิวซีแลนด์ได้ทดลองให้พนักงานทำงาน 4 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าทำให้พนักงานมีความสมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตการทำงานเพิ่มขึ้น 24% ความผูกพันเพิ่มขึ้น 20% และระดับความเครียดลดลง 7% (CNN, 2018) ธุรกิจต่าง ๆ ควรจับตาดูแนวโน้มการทำงาน และสำรวจวิธีที่จะสร้างตารางการทำงาน ความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงานมากยิ่งขึ้น
4. การจัดเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์ในองค์กรเป็นสิ่งจำเป็น (Centralized communication)
ในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจกับระบบฐานข้อมูลกันมากเนื่องจากช่วยลดความซ้ำซ้อน และรักษาความถูกต้อง ปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงการใช้ข้อมูลร่วมกันในองค์กรจากฐานข้อมูลกลาง
5. คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับ Work-life balance เป็นอันดับแรก
สำหรับคนรุ่นใหม่ เงินเดือนกับเนื้องานไม่ได้เป็นเพียง 2 ปัจจัยหลักในการพิจารณาเลือกงานอีกต่อไป คนหางานหลายคนคำนึงถึงทั้งเรื่องการใช้เวลาหรือค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาออฟฟิศ ความอิสระในการปรับเปลี่ยนชั่วโมงการทำงาน วันหยุด สวัสดิการ และความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน (Work-life balance) เป็นเหตุผลหลักในการสมัครงานด้วย องค์กรเองก็ต้องหันมาให้ความใส่ใจชีวิตความเป็นอยู่ของพนักงานมากขึ้นเพื่อซื้อใจพนักงาน และผลประโยชน์ขององค์กรคุณเอง
6. องค์กรหันมาลุงทุนกับสวัสดิการพนักงานมากขึ้น
สวัสดิการพนักงาน ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่องค์กรควรให้ความสำคัญมากเป็นอันดับแรก ๆ เพื่อรักษาพนักงานให้ทำงานอยู่กับบริษัทให้นานที่สุด ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องจูงใจให้คนใหม่ ๆ อยากเข้ามาร่วมงานกับองค์กรด้วย สวัสดิการที่ดียังช่วยเสริมสร้างศักยภาพของพนักงานให้ทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ นั่นย่อมทำให้องค์กรประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น กลายเป็นองค์กรที่มีศักยภาพสูงในการแข่งขันทางธุรกิจในที่สุด
7. การให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality)
ความเท่าเทียมทางเพศ แน่นอนว่าไม่นับเป็น Topic ใหม่ แต่หลายปีที่ผ่านมานี้ เราได้เห็นแคมเปญความหลากหลายทางเพศมากมาย ที่ต้องการแสดงให้เห็นถึงคุณค่า และความเท่าเทียมกันในทุกเพศโดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความมั่นใจให้ผู้หญิงสามารถขึ้นมาดำรงตำแหน่งสูง ๆ ในองค์กรได้ ในรายงานของ McKinsey ในปี 2020 พบว่าบริษัทที่มีตัวแทนผู้หญิงอยู่ในอันดับต้น ๆ นั้นมีแนวโน้มที่จะมีชัยเหนือคู่แข่งถึง 50%
8. ธุรกิจที่มีแนวคิดเพื่อสังคม ได้รับความนิยมหมู่มาก
ปัจจุบัน ผู้สมัครงานต้องการบริษัทที่แสดงความปรารถนาอย่างแท้จริงที่จะรักษาคุณค่าและให้ความสำคัญกับความรับผิดชอบต่อสังคม และบริษัทเหล่านี้มักได้เปรียบในเวทีที่มีการแข่งขันสูง VantageCircle พบว่า 55% ของผู้ซื้อเต็มใจที่จะใช้จ่ายมากขึ้นสำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการจากบริษัทที่ขึ้นชื่อว่ารับผิดชอบต่อสังคม นอกจากนี้ยังสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ 78% ของคนรุ่น Millennials ระบุว่า CSR เป็นเหตุผลหนึ่งในการเข้าร่วมองค์กร
9. Gig Economy เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์โลกและโควิด-19 ทำให้เทรนด์การทำงานเปลี่ยนแปลงไป จนทำให้หลาย ๆ คนหันหนีจากงานประจำ และหันมาทำอิสระมากขึ้น จนทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจแบบใหม่ที่เรียกว่า ‘Gig Economy’ ที่น่าสนใจคือการขยายตัวของ Gig Economy อาจทำให้วัฒนธรรมการทำงานเปลี่ยนไปหลังจากนี้ ต่อไปเราอาจได้เห็นการเพิ่มมากขึ้นของสัดส่วนฟรีแลนซ์ในองค์กรต่าง ๆ เพราะระหว่างที่ลูกจ้างตระหนักถึงความสำคัญของความยืดหยุ่นทางด้านเวลา
10. การอัพสกิลกลายเป็นสิ่งจำเป็น
ต้องยอมรับว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคนทำงานต้องเจอกับกระแสการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบไม่ทันตั้งตัวมากมาย ทั้ง Digital Disruption จนมาถึงวิกฤตโควิด-19 ทำให้การมีแค่ ความสามารถในวิชาชีพ หรือ Hard Skills เพียงอย่างเดียว อาจจะไม่ช่วยให้อยู่รอดและเติบโตในอาชีพได้อย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญของคนทำงานยุคนี้จึงต้องเพิ่มทักษะใหม่ ๆ ให้รอบด้านเพื่อเพิ่มความสามารถให้ตัวเองในทุกมิติ
ซึ่งรายงานของ Capgemini และ LinkedIn เผยว่า Skill Gap ทำให้องค์กรสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากการขาดแคลนผู้ที่มีความสามารถ ทำให้หลายบริษัทลงทุนอย่างหนักไปกับการอัพสกิลให้กับพนักงานมากขึ้นกว่าที่เคย
11. หุ่นยนต์ + มนุษย์ในองค์กร
ช่วงแรกที่หุ่นยนต์ หรือระบบ AI เข้ามามีบทบาทในที่ทำงานมากขึ้น มีบทความหรือการแสดงความคิดเห็นมากมายที่บอกว่าสิ่งเหล่านี้กำลังจะเข้ามาแย่งหน้าที่มนุษย์ แต่แท้จริงแล้ววิวัฒนาการของ AI และ Machine learning ทำให้พนักงานสามารถอยู่ร่วมกับหุ่นยนต์ได้อย่างกลมกลืน
จากข้อมูลของ Tractica มนุษย์เองก็เริ่มที่จะคุ้นชินกับการมีอยู่ของเทคโนโลยีเหล่านี้ เพราะช่วยอำนวยความสะดวกให้พวกเรามากขึ้น ผู้ใช้เกือบ 1 พันล้านคนจะต้องพึ่งพาผู้ช่วยเสมือนที่ขับเคลื่อนด้วย AI ภายในปี 2568 (Datamation, 2018) นอกจากนี้ 74% ขององค์กรเชื่อว่า AI จะรวมอยู่ในแพลตฟอร์มขององค์กรทั้งหมดภายในปี 2566
12. Soft Skills คัมภีร์เด็ดที่ผู้นำองค์กรไม่อาจมองข้าม
ขีดความรู้ความสามารถของพนักงาน เป็นฟันเฟืองหลักและเส้นทางการชี้วัดชะตาความอยู่รอดขององค์กร "อัพสกิล-รีสกิล" จึงเปรียบเสมือนคัมภีร์เด็ดที่ผู้นำองค์กรไม่อาจมองข้าม หากต้องการก้าวผ่านสถานการณ์เดิม ๆ เพิ่มศักยภาพให้องค์กรสามารถแข่งขันได้อย่างเต็มที่ในโลกธุรกิจยุคใหม่
ลักษณะการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา คนหลายเจเนอเรชั่นกำลังทำงานร่วมกัน และเทคโนโลยีที่เราใช้ก็พัฒนาวันต่อวัน ดังนั้นการเรียนรู้อย่างไม่หยุดนิ่งและปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงจึงสำคัญมากต่อการเติบโตอย่างมั่นคงในโลกที่มีการ Disruption ตลอดเวลา
ในทางกลับกัน ในฐานะนายจ้าง ต้องหันมาให้ความสำคัญการพัฒนาทักษะของพนักงานให้มากขึ้น ระหว่างความสมดุลของชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ความเป็นอยู่ ความเท่าเทียม และเปิดใจรับฟังความต้องการของพนักงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อรักษาพนักงานเดิม และดึงดูดคนที่มีความสามารถเข้ามาทำงาน และช่วยขับเคลื่อนองค์กร
ธุรกิจใดที่ต้องการการดูแลบุคลากรอย่างครบวงจร ติดต่อแมนพาวเวอร์ได้เลยค่ะ