ประมาณ 1 ปี ที่ผ่านมา -

"ระบบที่ดีไม่ใช่ระบบที่คนเก่งต้องทำงานหนักอยู่กลุ่มเดียว แต่ควรเป็นระบบที่ทุกคนสามารถแสดงฝีมือ เป็น The best version of yourself ได้อย่างเต็มที่"

Repost On Blog (900 X 500 Px) (19)

​ระบบที่ดีไม่ใช่ระบบที่คนเก่งต้องทำงานหนักอยู่กลุ่มเดียว แต่ควรเป็นระบบที่ทุกคนสามารถแสดงฝีมือ เป็น "𝑻𝒉𝒆 𝒃𝒆𝒔𝒕 𝒗𝒆𝒓𝒔𝒊𝒐𝒏 𝒐𝒇 𝒚𝒐𝒖𝒓𝒔𝒆𝒍𝒇" ได้อย่างเต็มที่ต่างหาก

การถูกให้ค่า รับบทเป็นคนทำงานหนักที่สุด ตาม Common Sense แล้ว ถ้าคนเก่งได้เงินเดือนมากกว่าคนทั่วไปพอสมควร หากจะต้องทำงานหนักกว่า ก็น่าจะไม่ได้รู้สึกอะไรเท่าไร ในทางกลับกัน หากเงินเดือนเท่ากัน หรือที่แย่สุดก็คือ เงินเดือนน้อยกว่าคนทั่วไปหลายเท่า สิ่งนี้ก็อดชวนให้ตั้งคำถามถึง ‘ความแฟร์’ ไม่ได้

มาร์ก เมอร์ฟี (Mark Murphy) นักเขียนหนังสือขายดีของ The New York Times ได้เผยผลงานวิจัยของตนจากการศึกษากลุ่มตัวอย่างพนักงานกว่า 207 คนในองค์กรพบว่า 42% ของพนักงานที่เก่ง รู้สึกผูกพันธ์กับองค์กรน้อยกว่าคนที่มีประสิทธิภาพการทำงานต่ำกว่า

กล่าวคือการเป็นคนเก่ง คนทำงานดีไม่ได้แปลว่า ทุกคนจะรู้สึกดีที่หัวหน้าเห็นคุณค่า แต่บางครั้ง แสงไฟที่สาดส่องเหล่านี้ก็สร้างความเจ็บปวดไม่แพ้กัน ส่วนคนทำงานคนอื่น ๆ จะรู้สึกแฮปปี้กว่า โดยก็ตั้งอยู่บนจิตวิทยาที่ว่า พวกเขาสบายใจกับการทำงานไปเรื่อย ๆ ไม่ถูกกดดันนั่นเอง

การแจกจ่ายงานที่ดูจะ ‘ไม่ค่อยแฟร์’ เป็นต้นกำเนิด ‘เดอะแบก’ ของทีม เมื่อไปถึงจุดหนึ่ง งาน Overload ขึ้นมา ตัวละครหลักของทีมที่มีค่าความเก่งสูงก็อาจทำงานผิดพลาดได้ง่าย เพราะนอกจากปริมาณจะล้นมือแล้ว ก็ไม่มีเวลาพักเช่นกัน จากเดิมที่ทำงานได้ตามบาร์มาตรฐานตลอด กลายเป็นงานที่หัวหน้าต้องคอยคอมเมนต์ คอยแก้เรื่องเดิมซ้ำ ๆ และในขณะเดียวกัน คนที่ไม่ได้รับมอบหมายงานที่นอกเหนือจากงานพื้นฐาน ย่อมไม่มีโอกาสฝึกฝนเพิ่มทักษะการทำงาน ได้แค่ทำงานเดิม ๆ ไม่ได้พัฒนาตัวเอง

ถึงที่สุดแล้ว ถ้าคุณมองว่าหัวหน้าเห็นว่าเราเป็นคนสำคัญ มีศักยภาพ และตัวคุณเองเป็นคนจิตใจดี ชอบช่วยเหลืออยู่แล้ว ก็แนะนำว่า แทนที่จะ Suffer ปล่อยให้เป็น ‘อากาศ’ ที่สูญเปล่า อาจจะปรับมุมมองใหม่ว่า นี่เป็น ‘โอกาส’ ที่จะพัฒนาฝีมือ

หากรับมือกับความ Suffer ไม่ไหวจริง ๆ ก็อาจจะลองเข้าไปคุยกับหัวหน้าตรง ๆ แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ ก็อาจจะขอ Resource ให้รับคนเพิ่ม แบ่งให้เพื่อนร่วมงานคนอื่น จัดซื้อเครื่องมือที่ช่วยทุ่นแรง หรือเจรจาต่อรองเรื่องการปรับฐานเงินเดือนแทน

ในฝั่งของหัวหน้า ก็อย่าลืมย้อนกลับมาทบทวนเช่นกันว่า กำลังเป็นหัวหน้าในลักษณะนี้หรือไม่ ให้บทลูกน้องบางคนหนักเกินไปไหม? เราเก่ง เราทำได้ ไม่ได้แปลว่าเราไม่เหนื่อย ลูกน้องก็เช่นกัน

ลองกระจายงานให้คนอื่น ๆ ในทีมทำดูบ้าง ถือเป็นการเปิดโอกาสให้กับคนอื่น ๆ ที่ยังไม่เคยลงมือทำบางงาน ให้เค้าได้ลองหยิบ จับอะไรมากขึ้น เป็นการส่งเสริมให้แต่ละคนได้พัฒนาทักษะต่าง ๆ และโชว์ฝีมือของตัวเอง ซึ่งจะสามารถสร้างความรู้สึกมีส่วนร่วม และเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร (Sense of Belonging) ถือว่าเป็นความรู้สึกที่ดีที่จะทำให้พนักงานยิ่งรู้สึกผูกพันกับองค์กรด้วยค่ะ

ค้นหางานใหม่ที่ใช่ กับแมนพาวเวอร์ คลิกเลย https://bit.ly/3tROE6f